นโยบายของนายกเทศมนตรีตำบลช่องแค
1. นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน
นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นนโยบายที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีอาชีพเสริม มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ความยากจนลดลง ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
1.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ด้วยการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอาชีพเสริมให้ประชาชนตามกลุ่มต่าง ๆ
1.2 ส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพที่มีอยู่เดิม ขยายงาน ขยายตลาด เพื่อต่อยอดกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
1.3 ส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้า เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นสินค้า OTOP สำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ
1.4 จัดหาสถานที่ในการเป็นศูนย์รวมจำหน่ายสินค้า ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และผู้สนใจ
1.5 สนันสนุนการจ้างแรงงานในพื้นที่ สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่เข้ามาดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการจ้างแรงงาน เป็นการสร้างรายได้
2. นโยบายด้านการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
นโยบายด้านการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ เป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญกับคน
ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด โดยจะพัฒนาบุคคลภายในหน่วยงานให้เกิดศักยภาพในการทำงาน เพื่อการนำนโยบายของฝ่ายบริหารไปปฏิบัติให้บังเกิดผลดี เกิดค่านิยมที่ดีต่อการทำงาน เพื่อบริการประชาชน และเป็นค่านิยมที่ประชาชนต้องการให้พนักงานของรัฐเป็น รวมทั้งขยายการพัฒนาไปสู่สังคมนอกหน่วยงาน ให้ได้รับรู้และเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังคม มีจริยธรรม คุณธรรม เพื่อนำพาสังคมไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
2.1 ส่งเสริมสนันสนุนบุคลากร เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อประชาชน ในการให้บริการ เพื่อให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
2.2 ส่งเสริมด้านการพัฒนาความรู้ การฝึกอบรม การศึกษาเพิ่มเติม พัฒนาตนเอง แก่บุคลากรในองค์กร เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ตอบสนองต่อการให้บริการประชาชน
2.3 การบริหารงานบุคคล จะใช้หลักคุณธรรมในการบริหาร โดยยึดหลักความรู้ความสามารถ ความเสมอภาคในโอกาสความก้าวหน้า ความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ ความสามัคคีในหน่วยงานเน้นการทำงานเป็นทีม
2.4 ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจไปสู่ชุมชน สังคม เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ระหว่างเทศบาล และชุมชน ส่งผลให้เกิดสังคมคุณภาพ
2.5 ส่งเสริมด้านการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน สังคม
2.6 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมนันทนาการ แก่เยาวชน เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสังคม และเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต
2.7 ส่งเสริมการบริการด้านสาธารณสุขมูลฐาน การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย โดยจัดหาสถานที่ที่ใช้ในการออกกำลังกายแก่ทุกกลุ่มวัย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
2.8 มุ่งเน้นการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และสานต่อเรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตา การดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคม
3.นโยบายด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
นโยบายด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ท้องถิ่น ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นให้เกิดทุนทางสังคมด้านกายภาพ ความสะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามมา โดยมีแนวทางการดำเนินงานนโยบาย ดังนี้
3.1 ก่อสร้างปรับปรุงถนนหนทางภายในเขตเทศบาลให้ได้มาตรฐาน เพื่อความสะดวกของประชาชนในการสัญจรไปมา การขนส่งสินค้าต่าง ๆ และการค้าขายในท้องถิ่น
3.2 ก่อสร้างปรับปรุงระบบระบายน้ำ และวางมาตรการการป้องกันน้ำท่วมขังในแหล่งธุรกิจ
3.3 ติดตั้งและขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึงทุกแหล่งชุมชนของเทศบาล เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3.4 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาล ให้สามารถรองรับความต้องการของผู้สนใจและเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น
3.5 สร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และรวบรวมสินค้าของชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความหลากหลายของสินค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
4. นโยบายด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายที่เทศบาลให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันสิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
4.1 ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นให้สวยงาม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าอยู่ น่าอาศัย
4.2 มุ่งเน้นการพัฒนาเทศบาลตำบลช่องแค ให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริม ให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญและเน้นหนักการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ ดียิ่งขึ้นตามอำนาจหน้าที่
4.3 ส่งเสริมการป้องกันและวางระบบการแก้ไขปัญหาด้านมลพิษด้านต่าง ๆ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย มลพิษทางเสียง
4.4 ส่งเสริมและดำเนินการก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนหย่อม หรือลานกีฬา ให้เพิ่มมาก ขึ้นตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประชาชน
4.5 ส่งเสริมการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้า ตรอก ซอย ตลาดสด และสถานที่อื่นๆ ภายในเขตเทศบาลให้อยู่ในสภาพดีเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น
4.6 ดำเนินการปรับภูมิทัศน์ในเขตเทศบาล โดยเฉพาะถนนสายหลัก ให้เกิดความสวยงาม แก่ประชาชนผู้สัญจรไปมา
4.7 ส่งเสริมจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน ในระดับต่าง ๆ ทั้งใน ระดับครัวเรือน ชุมชน และเยาวชนในสถานศึกษา
5. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นให้การบริหารงานงานของเทศบาลสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน สร้างค่านิยมแนวใหม่ในการบริการประชาชน และตอบสนองภารกิจของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
5.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน โดยจัดให้คน งาน ตำแหน่ง มีความเหมาะสมให้มีการกระจายอำนาจ ส ร้างบรรยากาศในการทำงาน ส่งเสริมหลักคุณธรรม คือ ความถูกต้อง ดีงาม จรรยาบรรณ วัฒนธรรมอันดีงาม โดยใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารงาน
5.2 ปรับปรุงและพัฒนารายได้ของเทศบาล โดยใช้ระเบียบกฎหมายที่เป็นธรรม และเสมอภาค เหมาะสมกับบริบทของสังคมในท้องถิ่น
5.3 มุ่งเน้นการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคุ้มค่าและบรรลุเป้าหมายในเชิงภารกิจของรัฐ
5.4 ส่งเสริมการบริหารงานด้วยความโปร่งใส โดยเปิดเผยทั้งกระบวนการ และข้อมูลสร้าง ความไว้วางใจ รับรู้กลไกการทำงาน สร้างกระบวนการตรวจสอบ และประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
5.5 ส่งเสริมให้ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล ในลักษณะ
“ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับผลประโยชน์”
5.6 ปรับปรุงระบบการทำงาน โดยมุ่งเน้นการบริการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความพึงพอใจแก่ประชาชนผู้รับบริการสูงสุด
5.7 สนับสนุนให้ความร่วมมือแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง เพื่อการประสานงานในโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่น
5.8 ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล รวมทั้งพัฒนาบุคลากร พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสม ทันสมัย เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. นโยบายการส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
นโยบายการส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม เป็นนโยบายหนึ่งที่สำคัญในการบริหารงานของท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นเป็นรากฐานที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นส่วนที่จะทำให้ประชาชนได้รับรู้ ได้เข้าใจในการในการเมืองการปกครอง หากรากฐานแข็งแรง มั่นคง ก็จะสามารถทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะการเสริมสร้างกระบวนการให้เกิดประชาสังคม เพื่อให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
6.1 ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม โดยสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มชุมชนที่มีหลักการเดียวกัน อุดมการณ์เดียวกัน เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อส่วนรวม
6.2 ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของกลุ่มชุมชน เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน ใน การปกป้องสาธารณสมบัติ คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
6.3 ส่งเสริมให้กลุ่ม ชุมชน มีการติดต่อสื่อสาร ประสานงานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นระหว่างกันเป็นประจำ เพื่อสร้างให้เกิดความสมานฉันท์ และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
6.4 ส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และความสำคัญในระบอบการปกครอง
6.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารงานตั้งแต่วันเริ่มต้นกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การตรวจสอบ และประเมินผล
6.6 ส่งเสริมสนับสนุนให้เทศบาลเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือ และเป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของระหว่างกลุ่มองค์กรต่าง ๆ
6.7 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานของชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
6.8 ส่งเสริมสนับสนุนในการนำระบบสารสนเทศ มาใช้เพื่อการเปิดรับข้อมูล เปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร การบริหารงาน การปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงานของผู้บริหาร โดยจะรายงาน ผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี
ยุทธศาสตร์ /แนวทางการดำเนินงาน
เทศบาลตำบลช่องแค มียุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 18 แนวทาง ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 แนวทาง ประกอบด้วย
1.1 แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
1.2 แนวทางส่งเสริมการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน
1.3 แนวทางส่งเสริมการสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านในการพัฒนาท้องถิ่น
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณธรรมนำความรู้และเกิดความผาสุก มี 10 แนวทาง ประกอบด้วย
2.1 แนวทางส่งเสริมและสนันสนุนการจัดการศึกษามีคุณภาพ
2.2 แนวทางส่งเสริมการสนับสนุน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
2.3 แนวทางสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้พิการ คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
2.4 แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกายและจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจอย่างทั่วถึง
2.5 แนวทางส่งเสริมสาธารณสุขเพื่อการมีสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.6 แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.7 แนวทางสร้างความสงบเรียบร้อยและป้องกันบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน
2.8 แนวทางส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเมืองน่าอยู่/ ชุมชนน่าอยู่
2.9 แนวทางส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
2.10 แนวทางส่งเสริมและพัฒนาองค์กรชุมชน/ชุมชนเพื่อการพัฒนา
3. ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรการค้าและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สมดุล มี 1 แนวทาง ประกอบด้วย
3.1 แนวทางพัฒนาระบบคมนาคมเพื่อทำเกษตรและขนส่งสินค้าทางการเกษตร
4. ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมี 1 แนวทาง ประกอบด้วย
4.1 แนวทางส่งเสริมและสนันสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองทีดี มี 3 แนวทางประกอบด้วย
5.1 แนวทางส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรมและมีประสิทธิภาพ
5.2 แนวทางส่งเสริมประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการประชาสังคมในจัดการท้องถิ่น
5.3 แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและการบริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมภิบาล